ตั้งราคาขายที่ดิน อย่างไรเพื่อที่เรานั้นจะไม่ได้ขาดทุน อีกทั้งยังมีกำไรเหลืออีกด้วย ผู้ที่จะขายที่ดิในตอนนี้ต้องอ่าน เพราะว่าวันนี้เรานั้นมีทริกดีๆ สำหรับคนที่ต้องการขายที่ดินในตอนนี้
การขายที่ดินนั้นเราต้องดูรายละเอียดหลายปัจจัยการ ตั้งราคาขายที่ดิน จะต้องดู ศักยภาพทำเลที่ตั้งของที่ดิน ลักษณะที่ดิน รูปร่าง ขนาดเนื้อที่ และสภาพของที่ดิน อีกทั้งยังต้องดูอีกหลายข้อเลย
1. หาข้อมูลเบื้องต้นจากราคาประเมิน
ตั้งราคาขายที่ดินอย่างไรไม่ให้ขาดทุน การหาข้อมูลจากราคาประเมินนี้ ไม่ใช่ว่าพอทราบราคาแล้วก็นำมาตั้งเป็นราคาขายเลยในทันที เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย โดยราคาประเมินจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราพอทราบราคาที่ดินของตัวเองในระดับหนึ่ง ซึ่งต้องแยกก่อนว่าราคาประเมินนั้นมีด้วยกัน 2 ประเภทด้วยกัน คือ ราคาประเมินที่ดินจากกรมธนารักษ์ และ ราคาประเมินจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระ หรือสถาบันทางการเงิน
2. ศักยภาพทำเลที่ตั้งของที่ดิน
ปัจจุบันทำเลที่ตั้งของที่ดินมีส่วนสำคัญมากในการที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินแปลงนั้น ๆ หากที่ดินตั้งอยู่บนทำเลที่เป็น Prime Zone ย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ (CBD) หรือเป็นแหล่งท่องเที่ยว ราคาที่ดินก็จะขึ้นสูงมาก จนเรียกได้ว่ามองข้ามขั้นตอนการประเมินราคาจากกรมธนารักษ์และดูข้อมูลจากราคาในตลาดบวกลบกับข้อดีข้อเสียของที่ดินออกมาเป็นราคาได้เลย
นอกจากนี้ ในเรื่องของผังเมืองก็มีส่วนสำคัญ โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อที่เป็นนักลงทุนมักจะมองภาพรวมไปที่การใช้ประโยชน์ของที่ดินและกฎหมายการสร้างอาคารสูง ซึ่งแน่นอนว่าที่ดินที่ตั้งอยู่ในบริเวณผังเมืองที่สามารถสร้างตึกสูงได้ย่อมสามารถ
บวกราคาได้มากกว่าที่ดินที่ตั้งอยู่ในผังเมืองที่จำกัดความสูง
ซึ่งผู้ขายสามารถเช็คสีของผังเมืองได้ที่ เว็บไซต์กรมที่ดิน รวมไปถึงความสะดวกในการเดินทาง เส้นทางคมนาคมทั้งปัจจุบันและอนาคต อาทิ การขยายถนน โครงการรถไฟฟ้า ตลอดจนการลงทุนเมกะโปรเจคต่าง ๆ ผู้ขายสามารถบวกค่าที่ดินจากตรงนี้ไปได้หากความเจริญเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตค่อนข้างแน่นอน
3. ลักษณะที่ดิน รูปร่าง ขนาดเนื้อที่ และสภาพของที่ดิน
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ที่ตาบอด” หรือพื้นที่ที่ไม่มีทางเข้า-ออก พัฒนาได้ยาก ซึ่งต่อให้อยู่บนทำเล Prime Zone ก็ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ นอกเสียจากผู้ซื้อจะเป็นเจ้าของที่ติด ๆ กันด้านข้างและต้องการซื้อไว้เพื่อเพิ่มขนาดที่ดิน รวมไปถึงที่ดินที่ตั้งอยู่ใกล้กับทำเลเสื่อมโทรมย่อมขายได้ยากและตั้งราคาได้ไม่สูงเท่าทำเลอื่น ๆ ในโซนเดียวกัน
ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นนอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว รูปร่างของที่ดินและขนาดก็มีส่วนในการเพิ่มมูลค่าที่ดิน โดยสามารถจำลองให้เห็นภาพง่าย ๆ ด้วยการยกตัวอย่างที่ดิน 2 แปลงที่มีขนาดเนื้อที่เท่ากัน แต่มีแปลงหนึ่งที่เป็นที่ดินเชิงลึกเข้าไปกับอีกแปลงที่เป็นที่ดินหน้ากว้างที่มีความยาว โดยทั้งสองแปลงติดถนนเหมือนกัน แปลงที่มีหน้ากว้างจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าและสามารถตั้งราคาให้สูงกว่าได้
4. ข้อกฎหมาย สิทธิการถือครอง และภาระผูกพันของที่ดิน
สิ่งที่มีผลต่อการตั้งราคาที่ดินอีกประการ ได้แก่ ข้อกฎหมายต่างๆ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของผังเมืองด้วย ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.ผังเมือง, พ.ร.บ.ควบคุมความสูงของอาคาร, ประกาศต่าง ๆ ของกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับผังเมืองและอสังหาริมทรัพย์ ข้อจำกัดต่าง ๆ เหล่านี้เปรียบเสมือนการบังคับ และทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถใช้งานที่ดินได้ตามประสงค์อย่างเต็มที่ ราคาจึงผกผันไปตามความยืดหยุ่นของข้อกฎหมายต่าง ๆ ดึงนั้น หากต้องมีการซื้อ-ขาย
การศึกษากฎหมายที่ดินจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญเช่นกัน
นอกจากการหาข้อมูลเบื้องต้น และตั้งราคาเองแล้ว ยังสามารถติดต่อฝากขายผ่านตัวแทน หรือเอเจนท์ที่รับฝากขายที่ดินก็ได้ และควรตั้งราคาเผื่อค่านายหน้าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลงไปด้วย หรืออีกหนึ่งช่องทางที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คือการฝากขายออนไลน์ตามเว็บไซต์นั่นเอง
𝐏𝐚𝐬𝐬𝐢𝐨𝐧 𝐑𝐞𝐚𝐥𝐭𝐨𝐫 ผู้เชี่ยวชาญบริการด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้บริการซื้อ ขาย เช่า บ้านและคอนโด ระดับมืออาชีพแบบครบวงจร . สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ LINE @: https://lin.ee/QysJ4xN Tel : 02-0810000, 065-5105370 Website: https://passionrealtor.com/ #PassionRealtor #PassionforyourFullLiving #PropertyRealtor #ที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ #PropertyConsult #PropertyMarketing #พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ #คอนโด #เช่า #เช่าคอนโด #ซื้อคอนโด #่เช่าคอนโด #ขายคอนโด #ซื้อบ้าน #ขายบ้าน #นายหน้าที่ดิน #ซื้อขายที่ดิน